แต่งสวนแบบโมเดิร์น

สวนโมเดิร์น Modern Garden


เป็นสวนที่เน้นการใช้แนวเส้นและรูปทรงเรขาคณิต ที่เรียบง่ายในการออกแบบ โดยใช้วัสดุตกแต่งที่ดูทันสมัยเข้ามาประกอบ เช่น รูปประติมากรรมต่างๆ การออกแบบอาจสื่อความหมายถึงบางสิ่ง ไม่นิยมใช้พรรณไม้ ปริมาณมากๆ แต่เลือกใช้เฉพาะต้นที่มีรูปทรงที่โดดเด่น

1.) ทัศนียภาพของสวนแบบโมเดิร์น เน้นรูปทรงของกระบะปลูกพืชพรรณที่มีลักษณะแปลกตา เสริมน้ำพุในสวนเพื่อสร้าง บรรยากาศให้สดชื่น มีความเคลื่อนไหว และสวยงามสวนประดิษฐ์-เน้นเอกลักษณ์ไทย ด้วยไม้ดัดพวกตะโก

 
2.) ทัศนียภาพของสวนโมเดิร์น ใช้รูปแบบของเส้นซิกแซ็กสร้างการเคลื่อนไหว และเน้นพืชพรรณไม้ตระกูลเฟินหลายหลายชนิด อีกทั้งน้ำพุหินแกรนิตทรงกลมเพิ่มความเคลื่อนไหวของสวน 
 
3.) ทัศนียภาพของสวนแบบโมเดิร์น จัดแปลงพืชพรรณเส้นขอบชัดเจน พร้อมมีที่นั่งฟักผ่อนได้ด้วย 


 

แต่งสวนแบบบาหลี

สวนบาหลี


มีลักษณะโดย พื้นฐานเหมือนกับ สวนเมืองร้อน โดยทั่วไป กล่าวคือ ลักษณะพันธุ์ไม้ ที่ใช้เป็น พันธุ์ไม้ ในตระกูลใกล้เคียงกับ พันธุ์ไม้ ที่ใช้ใน สวนเมืองร้อน เช่น ชบา กล้วยประดับ เฮลิโคเนีย พลับพลึง ลั่นทม โกสน เฟินชนิดต่างๆ ไผ่ ปาล์ม และไม้น้ำต่างๆ กก บัว คล้าน้ำ เนื่องด้วย ชาวบาหลี มีความเชื่อว่า ต้นไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ มีชีวิตและวิญญาณ ส่วนต่างๆ ของต้นไม้จึงมักถูกนำมาใช้ทั้งเพื่อเป็น ยารักษาโรค และเพื่อใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ เนื่องจากบรรยากาศของ วิถีชีวิตแบบบาหลี เกี่ยวพันกับความเชื่อ ทางศาสนา และวิถีชีวิตประจำวัน อยู่มาก ประติมากรรมรูปสลักต่างๆ ทั้งรูปคน สัตว์ อมนุษย์ จึงถูกนำมา จัดประดับ เพื่อให้เกิด บรรยากาศเกี่ยวพันกับ การดำเนินชีวิต ของชาวบาหลี ไม้ที่นำมาใช้ใน งานประติมากรรม มีการแบ่งประเภทเป็นหลายประเภท โดยแบ่งตามคุณสมบัติสำคัญ ได้แก่ ความสวยงาม ความศักดิ์สิทธิ์ ความแข็งแรงคงทน และ ความอ่อนของเนื้อไม้สำหรับใช้ใน การแกะสลัก อาทิ ไม้ขนุน นิยมนำมาทำศาลสักการะ หน้ากาก และของใช้ในพิธีกรรมต่างๆ มีการใช้ส่วนประกอบ ทางสถาปัตยกรรม อาทิ ซุ้มประตู กำแพง เป็นบริเวณแบ่งสัดส่วนใน สวนไม้ไผ่ เป็นวัสดุสำคัญที่นิยมใช้ใน การก่อสร้าง หลังคาของอาคาร พื้นถิ่นนิยมมุงด้วยกก โดยเฉพาะต้นอลัง-อลัง เป็นชนิดที่นิยมใช้กับ ศาสนสถานต่างๆ ลักษณะอย่างหนึ่งของสวนบาหลี คือ การใช้สระน้ำ คูน้ำ ให้เป็นเครื่องสะท้อนภาพต่างๆ ที่ปรากฏในสวน สวนน้ำในบาหลี นิยมทำเป็นบ่อรูปทรงสี่เหลี่ยม ค่อนข้างตื้น และปลูกไม้น้ำชนิดต่างๆ ความเชื่อทางศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายเริ่มเข้ามาในเกาะบาหลี ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ความเชื่อตามตำนานโบราณของบาหลี โลกถูกสร้างขึ้นจากความว่าง ( Divine Nothingness ) โดยมีเทพสำคัญสุดผู้สร้างคือ ซาง ฮยัง วินธิ ซึ่งเป็นผู้สร้างเทพเจ้าองค์อื่นๆ ขึ้นมาปกปักรักษา เป็นเหล่าเทพผู้สร้าง แผ่นดิน ผืนน้ำ ท้องฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว เมฆ ดาวเคราะห์ ตามทิศทางต่างๆ โดยปกติแล้วการวางทิศทางของอาคารต่างๆ ในบาหลี จะวางโดยยึดกับ ทิศหลักทั้งสี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัด บ้าน หรือลานกิจกรรม จะถูกจัดให้หันสู่ทิศเหนือซึ่งถือเป็น ทิศศักดิ์สิทธิ์ ส่วนทางทิศตะวันออกของบริเวณบ้าน มุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จะเป็นที่ตั้งแท่น บูชาบรรพบุรุษ ด้วยถือเป็นทิศที่มีคุณที่สุด ทิศหัวนอนจะหันไปด้านเหนือ ส่วนทิศตะวันตกเฉียงใต้ใช้เป็นทิศที่ตั้งห้องครัวและสิ่งปฏิกูล ชาวบาหลีเชื่อว่า มีวิญญาณปกปักษ์รักษา ในทุกสถานที่ ธารน้ำ เหว หาดทราย ชายฝั่ง และป่าทึบ บริเวณที่รกร้างและรกชัฏ เป็นที่สถิตของบรรดาสิ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติ ชาวบาหลีเชื่อว่า สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ได้อยู่ในน้ำ แต่จะมาจากอีกฝั่งของผืนน้ำ ซึ่งทั้งนี้อาจเป็นด้วย ความกว้างของทะเล ที่ดูกว้างใหญ่ไพศาล หรือ อาจเป็นด้วยสายน้ำทั้งหมด บน เกาะบาหลี พัดพาสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงทะเล ทั้งนี้ ลักษณะสำคัญของ สวนแบบบาหลี คือ ควรมีความร่มครื้มด้วย ไม้เมืองร้อน ที่พบในพื้นถิ่น มีสิ่งประดับที่สะท้อนอารมณ์ แบบบาหลี และแสดง วิถีชีวิตของชาวบาหลี


พื้นฐานและบรรยากาศของสวนแบบบาหลี

เครื่องหอม
เนื่องจากต้นแบบของสวนมาจากพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ พิธีกรรม ภายในสวนจึงต้องมีกลิ่นหอมของเครื่องหอม ไม่ว่าจากดอกไม้หรือน้ำมันหอมเช่นน้ำมันจันทน์ ที่หอมฟุ้งตลบอบอวลไปทั้งสวน จะช่วยให้บรรยากาศดูลึกลับ มีมนต์ขลัง

วัตถุประดับสวน
ความแจ่มจรัสของสวนบาหลี มีองค์ประกอบมาจาก วัตถุที่นำมาประกอบ การจัดสวน ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นประติมากรรมหรือหินแกะเป็นซุ้มประตู ล้วนเป็นสิ่งจำเป็น แม้ของง่ายๆราคาถูกเช่นร่มขนาดใหญ่สีสดใส ที่ใช้ปัก ริมสระน้ำ ก็ช่วยเน้นความงามของต้นไม้เฉดสีเขียวให่เด่นขึ้นมาได้ สิ่งสำคัญคือ การนำทั้งของเก่า และของใหม่มาจัดวางร่วมกันได้อย่าง ไม่น่าเกลียด ให้ดูกลมกลืน

บ่อน้ำของบาหลี ต้องใช้หินสกัดเป็นแท่งๆประเภทศิลาแลง แต่นักจัดสวนปัจจบันของไทยนิยมใช้ไฟเบอร์หล่อเป็นบ่อน้ำแทน คุณภาพใช้แทนกันได้โดยไม่น่าเกลียด สิ่งที่ดีของบ่อน้ำแบบบาหลีคือไม่ต้องลงทุนทำบ่อให้ลึก ความลึกเพียง 30-50 เซ็นติเมตร ก็ใช้ได้แล้ว เมื่อบ่อไม่ลึกก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้ที่กว้าง ถ้าบ้านแคบอาจใช้ผนังริมกำแพงด้านหนึ่งด้านใด สร้างบ่อน้ำขนาดเล็กนี้ขึ้นมาได้

ชาวบาหลี ได้ชื่อว่ามีฝีมือในการเป็นช่าง งานศิลปะแกะสลักมีมากมาก ลักษณะของศิลปะจะอิงกับศาสนา การนำศิลปกรรมมาประดับ สวนบาหลี ต้องเข้าใจงานประติมากรรมของอินโดนีเซียว่าจะต้องมีศิลปะอินเดียเป็นหลัก ใหญ่ ประติมากรรม ของสวนบาหลีมีตั้งแต่ การสร้างซุ้มประตู รูปจำหลักปางต่างๆของพระพุทธเจ้า เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ และรูปสลักตำนานโบราณ ที่เกี่ยวกับเทวดา ยักษ์ ต่างๆ ตามอารยธรรมอินเดีย

ต้นไม้
แม้ ต้นไทรจะเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของอินโดนีเซีย เป็นต้นไม้ที่นำไปเป็นสัญญาลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราแผ่นดิน แต่ต้นไทรเป็น ต้นไม้ใหญ่ ที่ไม่เหมาะนำมาปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก
หลักการนำต้นไม้ มาปลูกในสวนบาหลีต้องเน้นความเขียวและความชุ่มช่ำเพื่อให้ได้บรรยากาศของป่า ฝน ไม้ประเภทเฮลิโคเนีย กกหรือคล้าน้ำ อันเป็นไม้ที่เป็นกอเป็นกลุ่ม จะช่วยให้สวนมีความสดชื่น ส่วนเฟิร์นจะช่วยให้สวนริมสระมีความเขียวที่หลากหลาย ถ้าอยากให้มีสีสรรของดอกไม้ สวนบาหลีนิยมใช้ลั่นทม ปลูกแค่ต้นเดียว พอให้มีร่มเงาตามธรรมชาติริมบ่อ การมีร่มเงาช่วยไม่ให้ตะใคร้น้ำที่ชอบแสงแดดเติบโตเร็ว

แสง
สวนบาหลีต้องมีไฟตอนกลางคืนส่องเน้นบางจุด ให้รู้สึกเหมือนเป็นบริเวณประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์




posted under |

แต่งสวนแบบญี่ปุ่น

สวนญี่ปุ่น


สวนญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากสวนจีน พร้อมๆ กับการเข้ามา ของศาสนา พุทธ ในช่วงศตวรรษที่ 6 มีพระภิกษุญี่ปุ่น 2 รูป จาริกไปศึกษา ในดินแดนจีน และกลับมาตั้งลัทธิใหม่ 2 ลัทธิคือ Shingon และ Tendi ซึ่งเป็น ศาสนาพุทธ แบบมหายาน ลัทธิทั้งสองนี้ เน้นทาง ปฏิบัติ โดยให้ ผู้ปฏิบัติธรรมหาที่ วิเวก เข้าสู่ความเงียบของธรรมชาติ ทำสมาธิเพื่อให้เกิดสติปัญญา การจัดสวน ในญี่ปุ่น จึงมีจุดเริ่มต้น จากวัดเช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของ สวนจีน จากนั้นจึง แผ่ขยาย เข้าไปในวัง และ บ้านคหบดี ในเวลาต่อมา
ช่วงศตวรรษ ที่ 8-12 วัดในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นวัดใน ลัทธิชินโต มีสถาปัตยกรรม คล้ายกับที่ปรากฎในประเทศจีน คือ หลังคา เป็นทรงโค้ง มักจะมุงด้วยหญ้า ไม่มุงกระเบื้อง และจะมี ลานกรวด เพื่อแสดงถึง ความเป็นพื้นที่สงบ ศักดิ์สิทธิ์ ลานกรวดตามวัดต่างๆ จะถูกสร้างขึ้น อย่างประณีต และไม่ปลูกต้นไม้ ที่มีใบร่วงไว้ใน บริเวณใกล้เคียง ในตอนปลายสมัยนี้ นิยมสร้างสระน้ำ ผืนใหญ่ ไว้ในสวน มีศาลา สวดมนต์ ตั้งอยู่รอบๆ สวนในบ้านขุนนาง ชั้นผู้ใหญ่ หรือคหบดี บริเวณศาลาจะมี การตกแต่ง ประดับประดา ด้วยอัญมณี มีค่า มีการติดโคมไฟ ตลอดจน การทำรั้วรอบ

ในศตวรรษที่ 12-14 การเข้ามาของลัทธิ Zen ในญี่ปุ่น ทำให้เกิดสวน อีกประเภทที่เรียกว่า Dry Garden (kare sansui) มีลักษณะเป็นสวนแบบ Minimalism ซึ่งได้รับการออกแบบ เพื่อให้เอื้อต่อการทำสมาธิ สวน Zen จึงเป็นสวนที่มีองค์ประกอบ ( Element ) น้อยมากแสดง ให้เห็นแก่นแท้ ของธรรมชาติ สวนมีลักษณะเป็นลานกรวดที่มีต้นไม้น้อยที่สุด เพื่อให้เห็น ผิวสัมผัสของหินว่า อาจปกคลุมด้วยตะไคร่ หรือ มอส แนวคิดใน การออกแบบ เป็นการหยิบส่วนประกอบต่างๆ ออกไป ตัดสิ่งฟุ่มเฟือยออกให้ถึงแก่น แนวคิดนี้หากเปรียบเทียบกับ สวนแบบจีน สวนจีนจะมีลักษณะเป็นตัวแทน ( Representation) สิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ อาทิ แทนภูเขา แทนน้ำตก ฯลฯ แต่ สวนญี่ปุ่น เป็นสวนที่มีลักษณะแบบชี้แนะ (Suggestion) ให้คิดว่านี่คือภูเขา ผู้ชมต้องใช้ความคิด และ จินตนาการประกอบการรับรู้นั้น

คติแบบเซ็นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งอิทธิพลต่อการจัดสวนหินและสวนทรายซึ่งเป็น การเสนอแนวคิดทางนามธรรมใน การจัดสวนแบบญี่ปุ่น ที่แสดงออกถึงความรักและเคารพใน ผืนดิน ก้อนหิน และพืชพันธุ์ ซึ่งแม้จะเป็นบริเวณเล็กๆ แต่ก็สามารถนำ จินตนาการ ของผู้ใช้ให้สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ สวน Zen อันเลื่องชื่อ ในญี่ปุ่นได้แก่สวน Ryoan-ji ( เรียว อัน จิ ) ในเมืองเกียวโต ซึ่ง เป็นสวนหิน ที่มี Theme มาจาก กองเรือ และ ทะล กลุ่มหิน คือ กองเรือ ส่วนรอยคราดหินเป็นวงกลม แทนกระแสน้ำที่วนรอบเรือ Stepping Stone มาจากการ simplify เกาะเล็ก เกาะน้อยของญี่ปุ่น แล้ว หยิบออก โดยวิธีการ Subtraction คิดจากรูปด้าน เสมือนเมื่อน้ำท่วมสูงขึ้น จะเหลือแผ่นดิน หรือ เกาะที่สูงเท่านั้น โดยแสดงแนวคิดดังกล่าวออกมาทาง Plan จัดได้ว่าเป็นสวน Abstract แห่งแรกของโลก ผู้ที่เห็นรอยคราดนี้จะนึกถึงน้ำ โดยที่สวนไม่มีการใช้น้ำตกแต่งเลยแม้สักหยด สวน Zen บางแห่งมีการประยุกต์ ให้มีต้นไม้ที่ ควบคุม Scale ได้ ให้ขึ้นเกาะกับหินเพื่อเพิ่มชีวิตให้กับสวน ถึงแม้ว่า สวน Zen จะดูเป็น Static Garden กระนั้นเมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้ง สวนยังมี Mood of Season ที่แสดงออกยามมี ใบไม้แห้งร่วงหล่นลงไป หรือ การเปลี่ยนแปลงของมอส หรือตะไคร่ ที่จับบนก้อนหิน

ช่วงศตวรรษที่ 16-17 Stroll Garden ( Stroll = เดินเล่น เดินทอดอารมณ์ ) สวนญี่ปุ่นในสมัยก่อนหน้านี้ เป็นลักษณะ ที่ผู้ใช้ไม่ออก ไปเดินใน สวน แต่ในช่วงศตวรรษนี้ เกิดความนิยมจัดสวนที่มีการใช้งานบริเวณนั้นจริงๆ ไม่เพียงผ่าน การรับรู้ด้วยตาเท่านั้น สวนที่ได้รับการออกแบบในช่วงสมัยนี้มีความอลังการ และ ใช้จินตนาการในการสร้างอย่างมาก สวนที่มีชื่อเสียง ในยุคนี้ได้ แก่ สวนของปราสาท Katsura ซึ่งมีอาณาบริเวณขนาด 11 เอเคอร์ มีพื้นที่ส่วนที่เป็นน้ำตรงกลาง และมีการสร้างตำหนักต่างๆ บนมุมของ เนินน้ำ ลักษณะเด่นที่ปรากฎ คือ มีการใช้ องค์ประกอบในการนำสายตา สร้างความลึกของภาพ หรือ นำมาเป็นกรอบของภาพของสวน ที่ต้องการให้ปรากฎการใช้ หินที่ทำให้ดูเรียบง่าย มีผังการจัดวางแบบลุ่มลึกแนบเนียน อาทิ การซ่อนหินในแนวต้นไม้


สวนญี่ปุ่น ได้รับอิทธิพล มาจากการจัดสวนถาด (tray garden) ด้วยเช่นกัน สวนญี่ปุ่นมักจะมี open terrace ที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง พื้นที่ภายในอาคาร กับพื้นที่ภายนอก องค์ประกอบ ที่มักจะพบใน สวนญี่ปุ่น คือ ตะเกียงหิน (stone lantern) ซึ่งวัตถุประสงค์เดิมใช้ เพื่อให้แสงสว่าง ในสวนยามค่ำคืน ต่อมาได้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญประการหนึ่งของ งานประติมากรรมใน สวนแบบญี่ปุ่น
การคำนึงถึง ความสอดคล้องสัมพันธ์ระหว่าง ที่ว่าง เวลา และ มิติในการมอง นับเป็นเสน่ห์ประการหนึ่งของสวนแบบญี่ปุ่น คือ มีลักษณะที่ค่อยๆ เผยแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของที่ว่างที่แตกต่างกันไปในแต่ละมุมมอง สวนญี่ปุ่น มีปฏิสัมพันธ์ กับแทบทุก สัมผัสของมนุษย์ โดยสื่อผ่าน สี รูปทรง เส้นสาย ผิวสัมผัสของหิน ทราย ก้อนกรวด หินปูทางเดิน (stepping stone) ตลอดจนกลิ่นละมุนของดอกไม้และต้นสน
สวนแบบญี่ปุ่น เป็นสวนที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองความงดงามของ ฉากธรรมชาติ ด้วยความใส่ใจอย่างยิ่ง เป็นงานประณีตพิถีพิถัน ที่ต้อง ได้รับการจัดวางอยู่ในพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัด วัตถุประสงค์ในการจัดการภูมิทัศน์ในสวนญี่ปุ่น ซึ่งมีพัฒนาการ สืบต่อกัน มายาวนานใน ประวัติศาสตร์ มีการจัดองค์ประกอบของภาพ ภูมิทัศน์โดยการจัดแต่งก้อนกรวด หิน ต้นไม้ สามารถมองได้จากหลากทิศทาง ทั้งจากมุมต่างๆ ในสวนและเมื่อมองจากชานบ้านซึ่งเป็น SPACE ที่เชื่อมต่อภายในบ้าน กับนอกบ้าน ได้โดยการเลื่อนฉากบาน เลื่อนออกทั้งระนาบผนัง
รูปแบบของสวนญี่ปุ่น
  • บ่อน้ำ สระน้ำ เกาะ และเนินดิน การเล่นระดับของเนินดิน แหล่งน้ำมา จากน้ำพุใต้ดินหรือแหล่งน้ำใกล้เคียง มีการหมุนเวียน ของน้ำ
  • มีลำธารและทางน้ำที่คดเคี้ยวไปในกลุ่มต้นไม้และหุบเขา ตื้นเพื่อให้เห็น คลื่นที่เกิดจากการไหลของน้ำผ่านไป บนก้อนหินที่ท้องน้ำ
  • การใช้หิน ตามสภาพธรรมชาติดั้งเดิม แต่มีการเลือกรูปทรง สีผิง ขนาด และการจัดกลุ่มที่มีความหมาย
  • แผ่นทางเดินหิน (stepping stone) เกิดจากพิธีชงชาในศตวรรษที่ 17 เพื่อเดนอย่างสำรวมไปยังห้อง หรื ศาลาชงชา
  • สะพานข้ามทางน้ำ อาจเป็นหินแผ่นเรียบแผ่นเดียวหรือสะพานไม้โค้ง หรือสะพานแผ่นหินวางห่างเป็นระยะ ตามจังหวะการก้าวเท้า
  • ลวดลายกรวด
  • ตะเกียงหิน ส่วนใหญ่เป็นหินอกรนิต ใช้ตกแต่งและให้แสงสว่างในพิธีชงชา
  • รั้ว และการตัดแต่งต้นไม้เป็นรั้ว

องค์ประกอบของสวนญี่ปุ่น

น้ำ เป็นต้นกำเนิดของชีวิต เป็นสิ่งที่ชโลมใจให้เยือกเย็นและมีความสุข กระแสน้ำมีอำนาจที่จะไหลพังทลายสิ่งที่กีดขวางได้ กระแสน้ำไหลทำให้เกิดเสียง เกิดความรู้สึกมีชีวิตชีวา จึงนิยมใช้น้ำเป็นสิ่งประกอบที่สำคัญ การใช้น้ำในสวนญี่ปุ่นก็เพื่อสมมุติว่าเป็น ลำธาร หนอง บึง สระน้ำ ทะเล มหาสมุทร ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การจัดน้ำไว้ภายในบริเวณสวนอย่างน้อยที่สุดก็มีน้ำในอ่างน้ำ ที่วางไว้ในสวนในที่ราบแบบเขียวชอุ่ม ส่วนสวนในที่ราบพื้นแห้ง ถึงแม้ภายในบริเวณจะไม่มีน้ำจริง ๆ แต่ก็ใช้กรวดหรือ ทรายโรยบนพื้นที่รายเรียบแล้วใช้ไม้ปลายแหลมขีดเส้นโค้งรอบ ๆกลุ่มก้อนหิน ชิดกันบ้างห่างกันบ้างเหมือน ระรอกน้ำหรือเกลี่ยวคลื่น ซึ่งเป็นการใช้น้ำโดยสมมุติ

การใช้น้ำเป็นส่วนประกอบในส่วนญี่ปุ่น

   น้ำตก เป็นจุดเด่นสำคัญของสวนภูเขา น้ำตก เป็นธรรมชาติส่วนหนึ่งใน การจัดสวนญี่ปุ่น การปลูกต้นไม้ ไม่ควรปลูก ให้หนาทึบทากเกินไป ควรให้มีแสงสว่างลอดลงไปได้บ้างเพื่อให้เห็น ความงามของก้อนหิน และเห็นแสง เมื่อสะท้อนกับน้ำตกในบางจุด

   ลำธาร เป็นทางน้ำตื้น ๆ ไหลผ่าน หุบเขาที่คดเคี้ยวไป-มาลงสู่พื้นที่ที่มีระดับต่ำกว่าเหมือนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ริมตลิ่งและในลำธารมีก้อนหินขนาดใหญ่และเล็กฝังไว้เป็นระยะ ๆ อย่างกลมกลืน เมื่อน้ำไหลผ่านก็จะปะทะกับก้อนหิน ทำให้เกิด ละอองน้ำ กระเซ็น เป็นฝอย และอาจมีเสียงดังซู่ซ่าสร้างบรรยากาศให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น

   สระน้ำ ลักษณะรูปร่างเป็นแบบธรรมชาติ จะไม่ปรากฏรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม หรือ วางแสดงให้เห็นว่า เกิดจาก การกระทำของมนุษย์ เลย ขอบสระหรือริมตลิ่งจะฝังก้อนหินใหญ่/เล็กไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันตลิ่งพังและเป็นการประดับด้วย การฝังก้อนหินริมตลิ่งนับว่า เป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่ง สระน้ำไม่ควรลึกนัก ถ้าขุดลึกเกินไปนอกจากจะทำให้ตลิ่งพังได้แล้ว ยังทำให้ไม่สามารถมองเห็น ก้อนหิน ก้อนกรวด ที่ก้นสระ น้ำในสระควรใสสะอาด ไม่มีกลิ่นและไม่กระด้าง การไหลของน้ำ ลงสู่สระน้ำอาจไหลตามลำธาร ซึ่งมีแหล่งน้ำตก เหมือนเกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ ไม่ไช่ไหลจาก ท่อน้ำหรือก๊อกน้ำ การวางท่อส่งน้ำและท่อน้ำล้นควรซ่อนปลายท่อน้ำไว้ใต้ซอกหิน

   ถ้าเลี้ยงปลาในสระน้ำ ควรเลือกปลา ที่กินพืชเป็นอาหาร เพื่อจะได้ช่วยกินตะไคร่น้ำ เช่น ปลาไน หรือ ปลาแฟนซีคาร์พ ซึ่งเป็นปลา ที่เชื่องและมีสีสันสดใสหลาย สีสดุดตา ข้อควรระวังใน การเลี้ยงปลา ก็คือ อย่าให้อาหารมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำเน่าได้ แต่ถ้าไม่เลี้ยงปลา ก็ควรปลูกพืชน้ำเช่น บัว สันตะวาใบพาย หรือใบข้าว ซึ่งสามารถเลี้ยงขึ้นอยู่ใต้น้ำ (ต้นและใบคล้าย ต้นผักกาด สีน้ำตาล) เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียได้เป็นอย่างดี

   น้ำพุ น้ำพุในสวนญี่ปุ่นเป็นน้ำพุที่ไหลริน ๆ เหมือนบ่อน้ำร้อน พุ่งขึ้นเหนือผิวดินเหมือนท่อน้ำรั่ว บางแห่งไหลออกจากซอกหิน โดยซ้อนท่อน้ำไว้ใต้ก้อนหิน ไม่นิยมน้ำพุที่พุ่งขึ้นสูง ๆ อย่างสวนแบบประดิษฐ์ โดยทั่วไปมักจะจัดน้ำพุไว้ที่บริเวณใกล้เชิงเขาหรือใกล้ทางเดิน
   บ่อน้ำ ในการจัดสวนญี่ปุ่นอาจจัดให้มีบ่อน้ำอยู่ในบริเวณสวนด้วย รูปร่างของบ่อน้ำจะเป็นรูปเหลี่ยมหรือรูปกลมก็ได้ ไม่จำเป็นต้อง มีรูปแบบตาม ธรรมชาติเหมือนสระน้ำ โดยมีมือหมุนเพื่อกว้านถังน้ำขึ้นมาจากบ่อ แต่ในปัจจุบันมีไว้เพื่อประดับสวน มากกว่าการใช้ประโยชน์

   หิน หินสำหรับประดับภายในสวนจะคัดเลือกรูปทรงและสีเป็นพิเศษ ไม่นิยมหินที่มีรอยสกัด เพราะผิดไปจากธรรมชาติชนิดของหินได้แก่ หินทราย หินแกรนิต หินชนวน หินคลอไรด์ ฯลฯ นอกจากหินก็มีก้อนกรวดขนาดต่าง ๆ กัน ใส่ไว้ในบริเวณ น้ำตก ลำธาร และสระน้ำ นิยมใช้ก้อนหินที่มีสีเข้ม เช่น สีเทา หรือสีดำ ทำให้รู้สึกว่ามืด ๆ ทึม ๆ เข้ากับสีเขียวของพุ่มไม้เป็นอย่างดี ถ้าไม่จำเป็นพยายาม อย่าใช้ก้อนหินที่มีสีขาว เพราะจะขาวโพลงสว่างมากเกินไป ก้อนหินต้องไม่มีร้อยตบแต่งอาจมีรูปร่างแหว่งเว้าหรือเป็นรูไปบ้าง แต่ควรเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
การวางก้อนหินในสวนไม่นิยม วางเป็นก้อนโดด ๆ อย่างน้อยจะต้องมีก้อนหินก้อนอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าวางไว้ข้าง ๆ เป็นส่วนประกอบ ระยะห่างระหว่างก้อนขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนหิน ถ้าก้อนหินใหญ่มากก็อาจวางห่างกันหน่อย ก้อนหินที่จัดวางไว้ในกลุ่มเดียวกันทุกก้อน ควรมีลักษณะผิวและสีเหมือนกัน แต่ละก้อนควรมีขนาดแตกต่างกัน โดยทั่วไปในกลุ่มหนึ่ง ๆ จะมีก้อนหินเป็นเลขคี่ เช่น 3 , 5 , 7 ฯลฯ โดยจัดเป็นรูปสามเหลี่ยมดังกล่าวแล้วในตอนต้น แต่ก็มีบางครั้งที่วางก้อนหินเพียง 2 ก้อน แล้วปลูกต้นไม้อีก 1 ต้น ก็จะทำให้มองดูแล้วเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมได้เหมือนกัน

   การประดับก้อนหินในบริเวณสวนควรฝังบางสวนของก้อนหินไว้ในดินโดยฝังส่วนที่เป็นรอยคอดตอนล่างให้จมลง ส่วนล่างของก้อนหิน ที่ระดับผิวดินจะต้องเป็นส่วนที่มีความกว้างหรือใหญ่กว่าส่วนบนที่อยู่เหนือดินขึ้นไป จะทำให้รู้สึกว่า ก้อนหินก้อนนั้น อยู่อย่างแข็งแรงมั่นคง มีลักษณะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
REISHO - SEKI (spiritual form)รูปทรงเตี้ย (low vertical)ลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ขนาดสูงเป็น 1.5 ของความกว้างที่ฐาน ใช้เป็นจุดสนใจหรือจุดเด่นที่สำคัญในการจัดสวนเป็นสัญญาลักษณ์ของสติปัญญาแสดงถึงจิตรใจที่สงบและมั่นคง

TAIZO - SEKI (body rock)รูปทรงเตี้ย (tall vertical) คล้ายคนยืนใช้จัดวางในบริเวณน้ำตก เป็นสัญลักษณ์แห่งความสง่างาม

REISHO - SEKI (spiritual form) รูปทรงเตี้ย (low vertical)ลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ขนาดสูงเป็น 1.5 ของความกว้างที่ฐาน ใช้เป็นจุดสนใจหรือจุดเด่นที่สำคัญในการจัดสวนเป็นสัญญาลักษณ์ของสติปัญญา แสดงถึงจิตรใจที่สงบและมั้นคง

SHINTAI - SEKI (heart rock)ลักษณะแบน (flat) ส่วนกว้างเว้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจ ใช้วางหน้าก้อนหินก้อนอื่นเสมอ

SHINKEI - SEKI (branching rock)ลักษณะโค้ง (arching) ด้านบนเรียบฐานเล็กกว่าด้านบน ใช้ประกอบเป็นหน้าผา 

KIKYAKU - SEKI (reclining rock)ลักษณะเอียง (reclining) ส่วนเว้า วางหงายขึ้น ใช้วางหน้าก้อนหินก้อนอื่นเสมอ

แต่งสวนแบบจีนจีน

สวนแบบจีน


การจัดสวนไม้ประดับแบบจีน ซึ่งได้รับความคิดมาจากธรรมชาติ พยายามดึงธรรมชาติให้เข้ามาอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด มีเอกลักษณ์ การจัดเป็นของตนเองโดยมีความคิดในการจัดคือ
  1. การจัดรูปแบบเป็นเนินดินสูง - ต่ำ (Slope) และปลูกหญ้า
  2. การจัดแบบพื้นราบ มีสระน้ำ บ่อน้ำ ธารน้ำและก้อนหิน
  3. จัดปลูกต้นไม้แบบยืนต้น เช่น ต้นสน หลิว ไผ่ ต้นหลิวจะปลูกไว้ตามขอบสระน้ำ กิ่งใบจะย้อยลงสู่พื้นน้ำอย่างสวยงาม ส่วนต้นสนก็จะตัดแต่งกิ่งก้านและลำต้นให้คดโค้งไปมา
  4. จัดประดับสวนด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน เช่น เก๋งจีน หรือเจดีย์แบบหกเหลี่ยมซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น
  5. จัดสวนด้วยสะพานทอดโค้งข้ามลำธาร ข้ามเกาะ พื้นสนามที่ปลูกหญ้า จะมีทางเดินคดโค้งไป   มาด้วยเส้นที่อ่อนหวานกลมกลืนกับธรรมชาติ

การใช้ต้นไม้ เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก วัสดุพืชพันธุ์หลากหลาย มี ความชำนาญเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีการสะสมมานาน เป็นพันปี เช่น – ต้นเบญจมาศ หรือ เก๊กฮวย – ต้นพีช – ต้นส้ม – อะซีเลีย ,lilly, liac, rodorendon ค.ศ. 1600 มีนักสะสมพันธุ์ไม้ชาวอังกฤษและดัทช์ทำให้พันธุ์ไม้จากจีน แพร่กระจายไปยังตะวันตก ต้นไม้ที่เป็นสัญญลักษณ์ในสวนจีน
  • บัวหลวง ในภาษาจีน เมื่อออกเสียงจะพ้อง กับคำว่า ความกลมกลืน ใช้เป็นตัวแทนของมิตรภาพ สันติภาพ และการรวมกันอยู่อย่างสันติสุข บัวในลัทธิเต๋า หมายถึง อมตะ ในพุทธศาสนา บัวเป็นฐานรองนั่งของ พระพุทธเจ้า และสัญญลักษณ์ของการหลุดพ้น
  • ดอกเบญจมาศ หรือเก็กฮวย
  • ต้นสน ไม้ยืนต้นสี่ฃเขียวตลอดปี อายุยาว
  • ต้นไฝ่ สุภาพบุรุษที่โอนอ่อนผ่อนตาม
  • ต้นกล้วย ความทะเยอทะยานไผ่รู้ ความอุดมสมบูรณ์
  • หลิว ใช้ใบในการพรมน้ำศักดิ์สิทธิ กิ่งก้านและใบที่โอนเอนเหมือนความงามผู้หญิง
  • ต้นพลับ (Persimmon) มีผลสุกสีทองเป็นสีแห่งความสุข
  • ต้นพีช (Peach) หรือท้อ ฤดูใบไม้ผลิ การแต่งงาน และความเป็น อมตะ
  • ต้นแพร์(Pear) ความยืนยาวและการปกครองที่ดี
  • ต้นพลัม (Plum) ปลูกเพื่อดอกมากกว่าผล เป็นเพื่อนในฤดูหนาว
  • ต้นทับทิม (Pomegranate) ความอุดมสมบูรณ์

การใช้ต้นไม้ในสวนจีน

  • ในสวนจีนมีการใช้ต้นไม้เพื่อสีของดอก (color) กลิ่นหอม (scent) รับประทาน (taste) ฟังเสียง (sound)
  • เพื่อความรื่นรมย์ ไม้ดัด (miniature landscape)
  • สัญญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล

องค์ประกอบของสวนจีน

  • ทางเดินมีหลังคา (covered walkway) ระเบียงทางเดิน (corridor) ป้องกันแดดฝนเวลาเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคาร หรือชม สวน เป็นการบังคับมุมมองอยู่ในแนวระดับชายคา
  • รั้ว กำแพง สวนมักปิดล้อมด้วยกำแพง ทาสีขาวมีหลังคาด้านบน และยัง มีกำแพงภายในอีกชั้นเพื่อแบ่งสวนออกเป็ส่วนต่างๆ มีการเจาะช่องบน กำแพงเป็นประตู หน้าต่าง เช่น รูปผลไม้ น้ำเต้า ดอกไม้ พระจันทร์ (moon gate) และมีการเจาะช่องหน้าต่างที่กำแพงใส่ลวดลาย (tracery window) เรขาคณิตคล้ายลายพื้น เพื่อระบายอากาศ แล้วยังเป็นกรอบของภาพเวลามองจากภายในออกไปยังภายนอก
  • ลวดลายพื้น (pavement) กระเบื้อง อิฐ กรวด หิน เป็นลวดลาย ละเอียด รูปร่างเรขาคณิต สีค่อนข้างเรียบ
  • ศาลา (pavilion) เป็นจุดชมวิว นั่งเล่น พักผ่อน มีการจัดวาง ตำแหน่งในบรรยากาศที่เปลี่ยนไป มีการตั้งชื่อของศาลาให้ทราบถึง ความพิเศษ เช่น ศาลาชมจันทร์ ศาลาบนเกาะกลางน้ำ ศาลาในสายฝน ศาลามักจะโปร่งโล่ง มีขนาดรูปร่าง และผังที่หลากหลาย เช่น กลม หลายเหลี่ยม บางครั้งเป็นอาคารมากกว่าหนึ่งชั้น มีโต๊ะ เก้าอี้ที่เคลื่อนที่ ได้ ในสวนหนึ่งมักมีศาลามากกว่าหนึ่งหลัง โดยไม่รบกวนสายตากัน เป็นทั้งจุดเด่นและหยุดสายตาในสวน
  • บ่อน้ำ และสระน้ำ เลียนแบบธรรมชาติ สะท้อนเงาสาลา เงาต้นไม้ลงใน น้ำ ปลูกไม้น้ำ เลี้ยงปลา
  • หิน สัญลักษณ์ของภูเขาตัวแทนธรรมชาติที่ขาดไม่ได้ในสวนจีน
  • เนินดิน (landform) การเปลี่ยนระดับ การพยายามสร้างภูมิ ประเทศที่เป็นภูเขา เป็นธรรมชาติ ประกอบกับการขุดบ่อน้ำทำให้มีดิน มาปรับพื้นที่
  • สะพาน มักอยู่ส่วนที่แคบ วางตำแหน่งโดยคำนึงถึงการมองเห็นเมื่อเดิน ข้าม มีวัสดุทั้งไม้ หิน อาจเดินเป็นเส้นตรงหรือเดินซิกแซก เพื่อให้เดิน ช้าๆสามารถชมสวนไปด้วย ทิศทางการเดินที่เปลี่ยนไปจะนำสายตาไป ยังจุดที่เปลี่ยนไปด้วย

วิธีจัดองค์ประกอบ

  • ลำดับการเดิน และการมองเห็นในสวน (Sequence) คำนึงถึงมุมมองจาก จุดที่หยุดนิ่ง เช่น ศาลา และจากจุดต่างๆ ที่เคลื่อนไหว ในสวน มีจุดสนใจข้างหน้า ในระยะใกล้ (Foreground) จุดสนใจในช่วงกลาง (Middle Ground) และ ฉากหลัง(Background)
  • เป็นแบบสวนที่เรียกว่า Picturesque มุมหรือจุดต่างๆ ในสวน จะหมืนกับภาพเขียน หรืิอ ภาพวาด
  • การสร้างกรอบ (Framing) การมองผ่านกรอบประตู หน้าต่าง
  • การสร้างมุมมอง ภายในพื้นที่ที่มีจุดเด่น (Focal Point) เช่น ศาลา สะพาน บ่อน้ำ หรือ เป็นการนำจุดเด่นภายนอก (Borrowed Scenery) มาเป็นมุมมองภายในสวน



แต่งแบบสวนหิน

                                          

 สวนหิน Rock garden


                                             



สวนหิน Rock garden เป็นสวนที่ใช้หินและกรวดเป็นองค์ประกอบหลักในการจัด โดยเลือกใช้ความหลากหลายจาก ลักษณะและชนิดของหิน ที่แตกต่างกันทั้งสี รูปร่าง และผิวสัมผัส จากนั้นก็นำต้นไม้ มาปลูกประกอบ ให้มีความสัมพันธ์และกลมกลืน กับหินที่เรา จัดวาง อาจจะจัดบนพื้นที่ราบเรียบ หรือเป็นชั้นเป็นเนินก็แล้วแต่นักออกแบบจะสร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งแนวคิดนี้ ก็คงหนีไม่พ้นจาก การนำรูปแบบธรรมชาติ เช่น โขดหิน เนินเขา เกาะแก่ง ลำธาร หรือน้ำตก ถอดถ่ายจำลอง เอามาจัดวาง ให้เหมาะสมกับสถานที่ ที่เราจะจัดอาจวางหินรูปตั้งบ้าง นอนบ้าง ก็แล้วแต่ความเหมาะสม จากนั้นก็นำต้นไม้ มาจัดประกอบ หรืออาจมีวัสดุอื่น ๆ อีก ก็แล้วแต่ ความต้องการ บางกรณีสถานที่อาจจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีอยู่แล้ว เช่น บ้านพักในชนบทที่ติดกับเขา และธรรมชาติดังกล่าว นักออกแบบสวน อาจจัดบริเวณให้สอดคล้องไปกับธรรมชาติรอบด้าน เช่น หักร้างถางพงเคลียร์พื้นที่รอบ ๆ บริเวณที่พัก คงสภาพหิน หินหรือเนิน ที่เป็นธรรมชาติเอาไว้ และนำต้นไม้ไปแต่งประกอบ แต่อย่างไรก็ต้องคงสภาพของเดิม ตามธรรมชาติ เอาไว้ ซึ่งก็จะเป็นอีกรูปหนึ่ง ลักษณะสวนหินนี้ก็นิยมทางประเทศแถบยุโรปมาก่อนเรียกว่า Rock Garden สร้างความรู้สึก ให้เห็นถึง ความเป็นปึกแผ่นมีพลังสนุกสนาน ทางแถบเอเชีย จีน และญี่ปุ่นก็นิยมจัดเช่นกัน โดยเฉพาะ สวนหินของญี่ปุ่น ซึ่งมักจะเรียกกันว่า Stone Garden ลักษณะสวนหินของญี่ปุ่นจะเป็นลักษณะพิเศษคือ นอกจากสวนหิน ที่เป็นลักษณะ ลอกเลียนธรรมชาติ แล้วยังมี สวนหินที่เป็น ลักษณะจินตนาการ ให้ผู้รับได้ใช้ฝึกสมาธิตามลัทธิเซน จะเป็นการจัดในพื้นราบจัดวางหินเป็นกลุ่มเป็นก้อน สมมุติแทนโขดเขาและเกาะแก่ง มีกรวดล้อมรอบ ทำ ริ้วรอยลวดลาย คล้ายสายน้ำและคลื่น สวนหินลักษณะนี้ จะไม่นิยมใช้ต้นไม้ มาประกอบเลย จะดูนิ่งให้ใช้ฝึกสมาธิได้เต็มที่

1.) ทัศนียภาพของสวนหินในสไตล์ สวนประดิษฐ์ เน้นพรรณไม้ทนแล้ง กลุ่มโป๊ยเซียน เป็นหลัก
 

 
2.) ทัศนียภาพของสวนหิน พืชพรรณทะเลทราย จัดสไตล์ธรรมชาติ

แต่งสวนแบบประดิษฐ์

สวนประดิษฐ์ Formal Style

สวนลักษณะนี้เหมาะกับสถานที่ที่มีเนื้อที่มากประกอบอาคารเช่น ปราสาท พระราชวัง วัด สถานที่ทำการ หรืออาจไม่มี อาคาร เป็นลักษณะเปิดโล่ง เช่น สวนสาธารณะ จัตุรัสกลางเมืองก็ได้ สวนประเภทนี้จะคำนึงถึงแบบแปลนเป็นสำคัญ การจัดวางแปลน จะจัดวางเป็น ลักษณะสมดุล (Symmetry) หรือสองข้างเท่ากัน นิยมออกแบบ ให้มีไม้ดอกสีฉูดฉาดสดใส ตัดกับสนามหญ้าสีเขียว ที่ตัดแต่งเรียบร้อย สวยงาม ต้นไม้ก็มักจะตัดแต่งเรียบร้อยสวยงาม ต้นไม้ก็มักจะตัดแต่งเป็นรูปทรงเรขาคณิต ต้อง ดูแล ตัดแต่งต้นไม้ และสนามหญ้า ให้อยู่ในรูปฟอร์มเรียบร้อยเสมอ โดยยึดถือรูปแบบแปลนที่ออกไว้เป็นสำคัญ ไม่นิยมปล่อยต้นไม้ ให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติเพราะอาจจะทำลายแบบแปลนที่กำหนดไว้ทำให้ผิดวัตถุประสงค์ในการจัด ในสวน นักออกแบบสวน อาจแบ่งเนื้อที่เป็นอย่างอื่นได้อีก แล้วแต่ความเหมาะสมของสถานที่และความต้องการใช้สอย เช่น มีทางเดิน บ่อน้ำ น้ำพุ ศาลาพักผ่อน ม้านั่ง กระถางสวย ๆ และรูปปั้น ถ้าเนื้อที่กว้างขวางมาก อาจมีถนนรถแล่นผ่านไปได้เหล่านี้เป็นต้น คุณสมบัติและหน้าที่ของ สวนลักษณะนี้ ก็คือ สร้างความโอ่อ่าสง่างาม ให้กับอาคาร และสถานที่ เป็นที่นิยมกันมากใน ประเทศแถบยุโรป ซึ่งนับเป็นแม่แบบของ สวนลักษณะ Formal Style เป็นสวนที่ออกแบบโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และวงกลม พรรณไม้ ส่วนใหญ่ถูกตัดแต่งใน สวนแบบประดิษฐ์ การออกแบบ จะมีแกนกลาง เพี่อความสมดุลของสวนทั้งสองข้าง และมีจุดเด่นถึงดูดสายตา สวนประดิษฐ์ มักใช้กับ พื้นที่ขนาดใหญ่ หรือ สถานที่ราชการ เพี่อสร้างความหรูหราและสง่างามของสถานที่

1.) ทัศนียภาพของสวนประดิษฐ์-เน้นหลังบ้านเขียวสดสวยด้วยไม้เลื้อยริมผนัง แลสร้างจุดเด่นของสวนด้วยรูปปั้นสีขาว 


2.) ทัศนียภาพของสวนประดิษฐ์-เน้นน้ำตกหัวสิงค์อิงแนบกำแพงสวน 
3.) ทัศนียภาพของสวนประดิษฐ์-เน้นเอกลักษณ์ไทย ด้วยไม้ดัดพวกตะโก
4.) ทัศนียภาพของสวนประดิษฐ์-จัดบรรยากาศให้นั่งชมน้ำพุเย็นสบาย พร้อมบรรยากาศศาลาระแนงโปร่งคลุมด้วยไม้เลื้อย

แต่งสวนแบบธรรมชาติ

สวนธรรมชาติ Natural Garden

เป็นสวนที่มักใช้เส้นโค้งในการออกแบบ ซึ่งช่วยให้เกิดรูปทรงอิสระ สร้างรูปแบบที่นุ่มนวล สบายตา โดยเลียนแบบธรรมชาติ

1.) ทัศนียภาพของสวนแบบธรรมชาติ - พื้นปลูกเป็นพื้นแข็ง จึงใช้พืชพรรณไม้ชนิดปลูกในกระถาง ทั้งหมด 



2.) ทัศนียภาพของสวนธรรมชาติ - ใช้พืชพรรณไม้ชนิดให้ความร่มรื่น ดอกหอม ตกแต่งด้วยวัสดุธรรมชาติ พวกตอไม้ ศิลาแลง 



3.) ทัศนียภาพของสวนธรรมชาติ - ใช้พืชพรรณไม้หลากชนิด หลายหลากวัสดุ ตกแต่ง พรางแสงด้วยซุ้มไม้เลื้อย
4. ) ทัศนียภาพของสวนธรรมชาติ - ใช้พืชพรรณหลากสีสัน

 
5.) ทัศนียภาพของสวนธรรมชาติ - ใช้พืชพรรณใบหลากชนิดประกอบธาราจำลอง



6.) ทัศนียภาพของสวนธรรมชาติ - ใช้พืชพรรณที่มีใบเป็นเส้น ไม่ต้องตัดแต่งมากนัก และใช้เส้นโค้งในการออกแบบ

แต่งสวนแบบไทยไทย

  • พันธุ์ไม้ที่นำมาปลูกมีทั้งไม้ดอกและไม้ผล เนื่องจากเป้นพืชเศรษฐกิจมา ช้านานแล้ว
  • พระเจ้าแผ่นดินและอุปราชเท่านั้น จึงจะมีพระราชอุทยานหรือสวนขนาด ใหญ่ได้ นิยมสร้างอยู่นอกกำแพงวังเป็นสวนแบบธรรมชาติ เป็นเขตหวง ห้าม มีผู้ดูแลสวน ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าไปได้
  • สวนที่ใช้เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมถาวร มักจะเป็นสวนไม้ดัด และไม้กระถางเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในพระราชวัง พระอารามใหญ่ๆ สวนภู เขาจำลองที่เรียกว่า เขามอ มีอยู่แต่ในพระราชวัง วัง และพระอาราม ต่างๆเช่นกัน เพราะถือว่าจะไทำสวนชนิดจี้ในบ้านสามัญชน เว้นแต่ผู้ที่มี บุญบารมี นอกจากนี้ยังมีเขาก่อซึ่งเป็นสวนภูเขาจำลองอีกชนิดหนึ่ง เพื่อ ใช้ในพระราชพิธีซึ่งจัดในพระราชฐานเท่านั้น


          สมัยกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1820-1860 ปรากฎความ ตามศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "ในเมืองสุโขทัยนี้ จึงชมสร้างป่าหมาก ป่าพลู ทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลาง (ลาน) ก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขาม ก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างไว้ได้แก่มันกลางเมืองสุโขทัย" ความนี้เป็น หลักฐานที่ทำให้พออนุมาน ได้ถึงสภาพ ภูมิทัศน์ของเมืองสุโขทัยเดิม ว่าเต็มไปด้วยสวนพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่คงได้รับ การดูแลจากผู้ปกครองแผ่นดินในสมัยนั้นๆ เป็นอย่างดี ยังมีความตามจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวถึงอีก พันธุ์ไม้ที่พึงจะมีความสำคัญมากเช่นกันในสมัยสุโขทัย คือ ไม้ตาล (ตาล หรือ ตาลโตนด Borassus Flabelliffer Linn.) ความว่า "พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสีสัชนาลัย สุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า" โดยไม้ตาล นี้สันนิษฐานว่าได้พันธุ์มาจากประเทศอินเดีย ชาวอินเดียเรียกว่า "ไม้ตาละ" และเป็นไม้ที่มีความสำคัญในศาสนาพุทธ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงทรงขยายเมืองสุโขทัยออกไป ก็ทรงสร้าง ป่าไม้ตาล ไปด้วยประกอบกัน ทั้งยังใช้ ป่าไม้ตาลเป็นสถานที่ให้ข้าราชบริพารและชาวบ้านชาวเมืองเข้าเฝ้าอีกด้วย

          สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้น สวนที่สร้างขึ้นใน พระบรมราชวัง คงเป็นทั้งสวนที่มีทั้ง พันธุ์ไม้ดอก และ ไม้ผลปลูกประดับ เช่นเดียวกับสวน ครั้งกรุงสุโขทัย สวนขนาดใหญ่ของ พระเจ้าแผ่นดิน มักจะอยู่นอก กำแพง พระราชวัง หรือนอกกำแพงพระนคร อาทิ สวนหลวงสบสวรรค์ ที่อยู่นอก กำแพง พระราชวัง ไปทางตะวันตก มีพระราชอุทยานอีกประเภทคือพระอุทยานในบริเวณ พระตำหนัก ที่ใช้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาส การแต่งพระอุทยาน มักขึ้นอยู่กับ ภูมิประเทศอันเป็น ที่ตั้งของ พระตำหนัก เป็นสำคัญ ทั้งนี้พระ อุทยานของ พระเจ้าแผ่นดิน ถูกกำหนดเป็นเขตหวงห้ามไม่ให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปได้ ไม่ปรากฎ สวนสาธารณะ ที่สร้างสำหรับ ประชาชนทั่วไปใน สมัยอยุธยาตอนต้น แต่ก็มีที่ว่างสาธารณะ ที่ประชาชน จะใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ในพระนคร คือ บริเวณบึงพระราม (บึงชีขัน) ซึ่งนับว่า เป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดภายในกำแพง เมืองกรุงศรีอยุธยา หากจะมี การละเล่นหรือ การพักผ่อน ที่ต้องการ พื้นที่กว้างขวางขึ้น ราษฎรก็จะออกไปสู่ทุ่งนอกกำแพง

          พ.ศ. 2199-2231 รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีบันทึกของบาทหลวง ชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาในสมัยที่สมเด็จพระนารายณ์ ทรงสร้างราชธานีที่ลพบุรี ซึ่งพอใช้เป็นหลักฐานในการสันนิษฐาน ถึงงานภูมิทัศน์ที่ปรากฎในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์ฯได้้มากกว่า รัชสมัยที่ผ่านมา เป็นยุคสมัย ที่มีการนำ เทคโนโลยีสถาปัตยกรรมยุโรปมาประยุกต์ใช้ อาทิ รูปทรงซุ้มประตู ซุ้มทางเดิน ผังอาคาร ในพระราชวัง ตลอดจนการล้อมรอบพระราชฐานด้วยสวน มีสวนที่สำคัญอยู่ในพระราชอุทยานบริเวณพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศ ซึ่งจากบันทึกของนิโคลา แชส์แวร์ บาทหลวงฝรั่งเศสที่เข้ามาในราชสำนักในสมัยนั้น ระบุไว้ว่า พระอุทยานในพระราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรีแห่งนี้ มีการทำภูเขาจำลอง มีไม้พันธุ์ไม้เขียวชอุ่ม ไม้ดอกหอม และมีน้ำพุ ให้ความชุ่มชื่น กับบริเวณ เหตุที่สามารถ ทำน้ำพุในพระอุทยานในสมัยนี้ได้ ก็ด้วยบาทหลวง และนายช่างชาวฝรั่งเศส และอิตาเลียนคงจะมีทักษะและเห็น ตัวอย่างมาจากยุโรป โดยเฉพาะที่วิลล่า เดสเต้ ที่เมืองทิโวลี่ในอิตาลี และจากพระราชวังแวร์ซาย ในฝรั่งเศส ประกอบกับ แรงดันของน้ำประปา ที่ส่งเข้ามายังตัวเมืองลพบุรีก็มีมากพอที่จะทำน้ำพุได้ด้วย พระราชอุทยาน ที่เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก อีกแห่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ คือ "ป่าแก้ว" ซึ่งเป็นพระราชอุทยานที่ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเสด็จประพาสบ่อยครั้ง ป่าแก้วนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้สนพระทัย และสร้างสวนแก้ว ขึ้นในพระตำหนักวังท่าพระ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร


บทความที่ใหม่กว่า หน้าแรก

BlogRoll

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Followers


Recent Comments