แต่งสวนแบบไทยไทย

  • พันธุ์ไม้ที่นำมาปลูกมีทั้งไม้ดอกและไม้ผล เนื่องจากเป้นพืชเศรษฐกิจมา ช้านานแล้ว
  • พระเจ้าแผ่นดินและอุปราชเท่านั้น จึงจะมีพระราชอุทยานหรือสวนขนาด ใหญ่ได้ นิยมสร้างอยู่นอกกำแพงวังเป็นสวนแบบธรรมชาติ เป็นเขตหวง ห้าม มีผู้ดูแลสวน ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าไปได้
  • สวนที่ใช้เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมถาวร มักจะเป็นสวนไม้ดัด และไม้กระถางเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในพระราชวัง พระอารามใหญ่ๆ สวนภู เขาจำลองที่เรียกว่า เขามอ มีอยู่แต่ในพระราชวัง วัง และพระอาราม ต่างๆเช่นกัน เพราะถือว่าจะไทำสวนชนิดจี้ในบ้านสามัญชน เว้นแต่ผู้ที่มี บุญบารมี นอกจากนี้ยังมีเขาก่อซึ่งเป็นสวนภูเขาจำลองอีกชนิดหนึ่ง เพื่อ ใช้ในพระราชพิธีซึ่งจัดในพระราชฐานเท่านั้น


          สมัยกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1820-1860 ปรากฎความ ตามศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "ในเมืองสุโขทัยนี้ จึงชมสร้างป่าหมาก ป่าพลู ทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลาง (ลาน) ก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขาม ก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างไว้ได้แก่มันกลางเมืองสุโขทัย" ความนี้เป็น หลักฐานที่ทำให้พออนุมาน ได้ถึงสภาพ ภูมิทัศน์ของเมืองสุโขทัยเดิม ว่าเต็มไปด้วยสวนพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่คงได้รับ การดูแลจากผู้ปกครองแผ่นดินในสมัยนั้นๆ เป็นอย่างดี ยังมีความตามจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวถึงอีก พันธุ์ไม้ที่พึงจะมีความสำคัญมากเช่นกันในสมัยสุโขทัย คือ ไม้ตาล (ตาล หรือ ตาลโตนด Borassus Flabelliffer Linn.) ความว่า "พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสีสัชนาลัย สุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า" โดยไม้ตาล นี้สันนิษฐานว่าได้พันธุ์มาจากประเทศอินเดีย ชาวอินเดียเรียกว่า "ไม้ตาละ" และเป็นไม้ที่มีความสำคัญในศาสนาพุทธ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงทรงขยายเมืองสุโขทัยออกไป ก็ทรงสร้าง ป่าไม้ตาล ไปด้วยประกอบกัน ทั้งยังใช้ ป่าไม้ตาลเป็นสถานที่ให้ข้าราชบริพารและชาวบ้านชาวเมืองเข้าเฝ้าอีกด้วย

          สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้น สวนที่สร้างขึ้นใน พระบรมราชวัง คงเป็นทั้งสวนที่มีทั้ง พันธุ์ไม้ดอก และ ไม้ผลปลูกประดับ เช่นเดียวกับสวน ครั้งกรุงสุโขทัย สวนขนาดใหญ่ของ พระเจ้าแผ่นดิน มักจะอยู่นอก กำแพง พระราชวัง หรือนอกกำแพงพระนคร อาทิ สวนหลวงสบสวรรค์ ที่อยู่นอก กำแพง พระราชวัง ไปทางตะวันตก มีพระราชอุทยานอีกประเภทคือพระอุทยานในบริเวณ พระตำหนัก ที่ใช้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาส การแต่งพระอุทยาน มักขึ้นอยู่กับ ภูมิประเทศอันเป็น ที่ตั้งของ พระตำหนัก เป็นสำคัญ ทั้งนี้พระ อุทยานของ พระเจ้าแผ่นดิน ถูกกำหนดเป็นเขตหวงห้ามไม่ให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปได้ ไม่ปรากฎ สวนสาธารณะ ที่สร้างสำหรับ ประชาชนทั่วไปใน สมัยอยุธยาตอนต้น แต่ก็มีที่ว่างสาธารณะ ที่ประชาชน จะใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ในพระนคร คือ บริเวณบึงพระราม (บึงชีขัน) ซึ่งนับว่า เป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดภายในกำแพง เมืองกรุงศรีอยุธยา หากจะมี การละเล่นหรือ การพักผ่อน ที่ต้องการ พื้นที่กว้างขวางขึ้น ราษฎรก็จะออกไปสู่ทุ่งนอกกำแพง

          พ.ศ. 2199-2231 รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีบันทึกของบาทหลวง ชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาในสมัยที่สมเด็จพระนารายณ์ ทรงสร้างราชธานีที่ลพบุรี ซึ่งพอใช้เป็นหลักฐานในการสันนิษฐาน ถึงงานภูมิทัศน์ที่ปรากฎในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์ฯได้้มากกว่า รัชสมัยที่ผ่านมา เป็นยุคสมัย ที่มีการนำ เทคโนโลยีสถาปัตยกรรมยุโรปมาประยุกต์ใช้ อาทิ รูปทรงซุ้มประตู ซุ้มทางเดิน ผังอาคาร ในพระราชวัง ตลอดจนการล้อมรอบพระราชฐานด้วยสวน มีสวนที่สำคัญอยู่ในพระราชอุทยานบริเวณพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศ ซึ่งจากบันทึกของนิโคลา แชส์แวร์ บาทหลวงฝรั่งเศสที่เข้ามาในราชสำนักในสมัยนั้น ระบุไว้ว่า พระอุทยานในพระราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรีแห่งนี้ มีการทำภูเขาจำลอง มีไม้พันธุ์ไม้เขียวชอุ่ม ไม้ดอกหอม และมีน้ำพุ ให้ความชุ่มชื่น กับบริเวณ เหตุที่สามารถ ทำน้ำพุในพระอุทยานในสมัยนี้ได้ ก็ด้วยบาทหลวง และนายช่างชาวฝรั่งเศส และอิตาเลียนคงจะมีทักษะและเห็น ตัวอย่างมาจากยุโรป โดยเฉพาะที่วิลล่า เดสเต้ ที่เมืองทิโวลี่ในอิตาลี และจากพระราชวังแวร์ซาย ในฝรั่งเศส ประกอบกับ แรงดันของน้ำประปา ที่ส่งเข้ามายังตัวเมืองลพบุรีก็มีมากพอที่จะทำน้ำพุได้ด้วย พระราชอุทยาน ที่เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก อีกแห่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ คือ "ป่าแก้ว" ซึ่งเป็นพระราชอุทยานที่ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเสด็จประพาสบ่อยครั้ง ป่าแก้วนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้สนพระทัย และสร้างสวนแก้ว ขึ้นในพระตำหนักวังท่าพระ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร


0 ความคิดเห็น:

บทความใหม่กว่า หน้าแรก

BlogRoll

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Followers


Recent Comments